วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หน่วยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft power point

การสร้าง PowerPoint
วิธีการออกแบบและทำให้งานนำเสนอของเรามีรูปแบบเดียวกัน
PowerPoint นั้นออกแบบมาเพื่อให้การนำเสนอภาพนิ่งของเรามีรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกัน มีสี่วิธีที่ PowerPoint ช่วยให้เราควบคุมลักษณะของภาพนิ่ง คือ ออกแบบแม่แบบ ต้นแบบ โครงร่างสี และเค้าโครงภาพนิ่ง

ออกแบบแม่แบบ
การออกแบบแม่แบบประกอบด้วยโครงร่างสี ภาพนิ่ง และต้นแบบชื่อเรื่องกับการจัดรูปแบบที่กำหนดเอง (ดูในส่วนถัดไป) และลักษณะแบบอักษร การออกแบบทั้งหมดจะสร้างการมองโดยเฉพาะ เมื่อเราใช้การออกแบบแม่แบบไปยังงานนำเสนอ ต้นแบบภาพนิ่ง ต้นแบบชื่อเรื่อง และโครงร่างสีของแม่แบบตัวใหม่ของเรา ให้แทนที่ต้นแบบภาพนิ่ง ต้นแบบชื่อเรื่อง และโครงร่างสีของงานนำเสนอตัวเก่า หลังจากเราใช้การออกแบบแม่แบบ ภาพนิ่งแต่ละภาพที่เราเพิ่มจะมีการกำหนดลักษณะการมองที่เหมือนกันPowerPoint มาพร้อมกับการออกแบบแม่แบบหลากหลาย นอกจากนี้ เราสามารถสร้างแม่แบบของเราได้เอง ถ้าเราต้องการสร้างการมองแบบพิเศษสำหรับงานนำเสนอของเรา เราสามารถบันทึกงานนำเสนอนี้ให้เป็นแม่แบบได้

ต้นแบบ
ต้นแบบภาพนิ่งจะควบคุมรูปแบบและการจัดวางชื่อเรื่องและข้อความที่เราพิมพ์ในภาพนิ่ง ขณะที่ชื่อเรื่องต้นแบบจะควบคุมรูปแบบภาพนิ่งชื่อเรื่องและภาพนิ่งอื่นๆ ที่เรากำหนดให้เป็นภาพนิ่งชื่อเรื่อง เช่น ตัวเปิดตอนใหม่ ตัวหลักยังเป็นตัวควบคุมรายการพื้นหลัง เช่น กราฟิกที่เราต้องการให้ปรากฏบนทุกภาพนิ่งหรือภาพนิ่งชื่อเรื่อง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เราทำในภาพนิ่งหลักจะมีผลกับภาพนิ่งแต่ละภาพด้วย ถ้าเราต้องการให้ภาพนิ่งบางภาพแตกต่างจากตัวหลัก เราสามารถทำได้โดยแก้ไข ลงในภาพนิ่งนั้นๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนต้นแบบ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นแบบภาพนิ่ง

โครงร่างสี
โครงร่างสีเป็นกลุ่มของสีสมดุล 8 สีที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้เป็นสีหลักในการนำเสนอภาพนิ่ง เช่น สำหรับข้อความ พื้นหลัง ตัวเติม การเน้นและอื่นๆ แต่ละสีในโครงร่างสีจะถูกใช้สำหรับองค์ประกอบต่างๆ ของภาพนิ่งโดยอัตโนมัติ เราสามารถเลือกโครงร่างสีสำหรับภาพนิ่งแต่ละภาพ หรือทั้งงานนำเสนอก็ได้ เมื่อเราใช้แม่แบบการออกแบบในการนำเสนอ เราสามารถที่จะเลือกกลุ่มของโครงร่างสีที่ออกแบบไว้แล้วสำหรับแม่แบบการออกแบบนั้น ซึ่งจะเป็นการง่ายในการเปลี่ยนโครงร่างสีในภาพนิ่งแต่ละภาพหรือทั้งงานนำเสนอ และทำให้เราได้ทราบว่าโครงร่างสีใหม่นั้นกลมกลืนกับภาพนิ่งอื่นๆ ทั้งหมดที่อยู่ในงานนำเสนอ ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของโครงร่างสีเค้าโครงภาพนิ่ง
เมื่อเราสร้างภาพนิ่งใหม่ เราสามารถเลือกจากเค้าโครงภาพนิ่งที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า 24 แบบ ตัวอย่างเช่น มีเค้าโครงซึ่งมีตัวยึดสำหรับชื่อเรื่อง ข้อความ และแผนภูมิ และมีอีกเค้าโครงหนึ่งซึ่งมีตัวยึดสำหรับชื่อเรื่อง และภาพตัดปะ ตัวยึดของชื่อเรื่อง และข้อความจะมีรูปแบบตามต้นแบบภาพนิ่งสำหรับงานนำเสนอของเรา เราสามารถย้าย ปรับขนาด หรือจัดรูปแบบใหม่ให้กับตัวยึดเพื่อให้แตกต่างจากต้นแบบภาพนิ่ง เรายังสามารถเปลี่ยนเค้าโครงของภาพนิ่งหลังจากที่เราสร้าง เมื่อเราใช้เค้าโครงใหม่ ข้อความและวัตถุทั้งหมดยังคงอยู่บนภาพนิ่ง แต่เราอาจจำเป็นต้องจัดข้อความและวัตถุเหล่านั้นอีกครั้งเพื่อให้พอดีกับเค้าโครงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น