วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หน่วยกิตที่4 สร้างสรรค์เว็บเพจด้วย Dreamwaever

โปรแกรม Macromedia Dreamweaver โปรแกรมสำหรับการสร้างเว็บเพจ บริหารจัดการเว็บไซต์ รวมไปถึงการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เนื่องจากตัว Dreamweaver มีความสามารถที่โดดเด่น ดังนี้ สามารถเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บได้ทุกรูปแบบ เช่น ASP, ASP.Net, ColdFusion,JSP, PHP, XML, XHTML เมนูคำสั่งและเครื่องมือต่างๆ เรียกใช้งานได้ง่ายและสะดวกมีการปรับปรุงกลไกภายในให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถสร้างแอปพลิเคชันง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม สร้างเว็บเพจภาษาไทยได้ทันทีโดยไม่ต้องติดต้องโปรแกรมเสริมเพราะ Dreamweaver รอง



การเข้าสู่โปรแกรม Macromedia Dreamweaver
มีขั้นตอน คือ คลิกเลือก Start -> Program -> Macromedia -> Macromedia Dreamweaver 8 ในการเข้าสู่ระบบในครั้งแรกโปรแกรมจะถามรูปแบบการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ
1. Designer หมายถึง การสร้างและออกแบบเว็บเพจโดยทั่วไป ส่วนมากนิยมเลือกรูปแบบนี้

2. Code หมายถึง วิธีการสร้างเว็บเพจที่เน้นการเขียนชุดคำสั่งเอง
เริ่มต้นการใช้งานโปรแกรม Dreamweaver MX



1. คลิกที่ปุ่ม start

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Program

3. เลื่อนเมาส์ไปที่คลิกเลือกเมนู Macromedia

4. เลื่อนเมาส์ไปที่คลิกเลือกคำสั่ง Macromedia Dreamweaver Mx เพื่อเรียกใช้โปรแกรม จะเห็นโปรแกรม ดังรูป

หน้าต่างเว็บเพจ (Document Window)



ส่วนของหน้าต่างการทำงานของ Dreamweaver MX สามารถเลือกหน้าต่างการทำงานได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

Show Code View : เป็นหน้าต่างที่ให้แสดงเฉพาะโค้ด HTML ของหน้าเว็บเพจที่เรากำลังทำงานอยู่




Show Code and Design View : เป็นหน้าที่แสดงทั้งโค้ด HTML และหน้าเว็บเพจ ที่เรากำลังทำงานอยู่

Show Design View : ให้แสดงแต่หน้าเว็บเพจปกติไม่ต้องแสดงโค้ด HTMl

Live Data View
เป็นหน้าต่างที่ใช้ดูผลลัพธ์การนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงบนเว็บเพจ
การเซฟหน้าเว็บเพจ
หลักจากที่สร้างเว็บเพจได้ตามต้องการแล้ว ให้ทำการเซฟไฟล์ โดยมีคำสั่งที่เลือกใช้ได้ ดังนี้
File > Save เป็นการเซฟไฟล์ในชื่อเดิม
File > Save As เ ป็นการเซฟไฟล์ในชื่อใหม่
File > Save As Template เป็นการเซฟไฟล์เป็นเทมเพลต
File > Save All เป็นการเซฟไฟล์ทั้งหมดที่มีการเปลี่ยนแปลง




หน่วยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรมแกรม Microsoft power point

การจัดเก็บ Slide
การบันทึกเอกสารเก่าที่เคยบันทึกแล้ว
คลิกเลือกที่เมนู แฟ้ม (File) ----->บันทึก (Save) เท่านี้เอกสารก็จะถูกบันทึกแล้ว



หรือ เลือกปุ่ม ในส่วนของ Tool Bar หรือกด Ctrl+S บนคีย์บอร์ด

การบันทึกเอกสารใหม่ที่ไม่เคยบันทึก
คลิกเลือกที่เมนู แฟ้ม (File) ----->บันทึก (Save) จะปรากฏไดอะล็๊อกบ็อก บันทึก (Save)






เลือกตำแหน่งที่ต้องการบันทึกไฟล์เอกสารไว้






ใส่ชื่อไฟล์เอกสารที่ต้องการแล้วคลิก บันทึก เท่านี้เอกสารก็จะถูกบันทึกเก็บเอาไว้
หรือ เลือกปุ่ม ในส่วนของ Tool Bar หรือกด Ctrl+S บนคีย์บอร์ด

หน่วยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรมแกรม Microsoft power point

การตั้งค่าการนำเสนอ

1. เลือกที่แถบเมนู นำเสนอภาพนิ่ง ---> นำเสนอภาพนิ่ง

2. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกขึ้น





3. ทำการคลิกเลือก ลักษณะพิเศษ แล้วเลือกรูปแบบของการเปลี่ยนหน้าการทำงานตามต้องการ

4. สามารถกำหนดให้การแสดงวัตถุเป็นไปโดยอัตโนมัติได้ โดยกำหนดตรง เลื่อนภาพนิ่ง

5. สามารถใส่เสียงระหว่างการเปลี่ยนภาพนิ่งได้

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนาวยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรมแกรม Microsoft power point

การใช้ต้นแบบภาพนิ่ง
ต้นแบบภาพนิ่ง
PowerPoint มาพร้อมกับภาพนิ่งชนิดพิเศษที่เรียกว่าต้นแบบภาพนิ่ง ต้นแบบภาพนิ่งนี้จะควบคุมลักษณะของข้อความบางอย่าง เช่น ชนิดของแบบอักษร ขนาด และสี ซึ่งถูกเรียกว่า "ต้นแบบข้อความ" และยังรวมถึงสีพื้นหลังและลักษณะพิเศษบางอย่างอีกด้วย เช่น เงา และลักษณะรายการสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ต้นแบบภาพนิ่งจะมีตัวยึดข้อความและตัวยึดท้ายกระดาษ เช่น วันที่ เวลา และจำนวนภาพนิ่งบรรจุอยู่ เมื่อเราต้องการทำการเปลี่ยนแปลงแบบส่วนรวมไปยังหน้าตาของภาพนิ่งของเรา เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงภาพนิ่งแต่ละภาพทีละภาพ เราเพียงแต่ทำการเปลี่ยนแปลงแค่ครั้งเดียวบนต้นแบบภาพนิ่งเท่านั้นแล้ว PowerPoint จะปรับปรุงภาพนิ่งที่มีอยู่และนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปใช้กับภาพนิ่งใหม่ใดๆ ที่เราเพิ่มเข้าไปโดยอัตโนมัติ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อความ ให้เลือกข้อความในตัวยึดข้อความและทำการเปลี่ยนแปลงตามที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปลี่ยนสีของตัวยึดข้อความเป็นสีฟ้า ข้อความบนภาพนิ่งที่มีอยู่และภาพนิ่งใหม่จะถูกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าโดยอัตโนมัติ
ให้ใช้ต้นแบบภาพนิ่งทำสิ่งต่อไปนี้ เพิ่มรูปภาพ เปลี่ยนพื้นหลัง ปรับขนาดของตัวยึด และเปลี่ยนแปลงลักษณะแบบอักษร ขนาด และสี
เมื่อต้องการมีศิลปะหรือข้อความ ตัวอย่างเช่น ชื่อหรือตราบริษัท ปรากฏอยู่บนภาพนิ่งทุกภาพ ให้ใส่ชื่อหรือตราบริษัทนี้ไว้บนต้นแบบภาพนิ่ง วัตถุจะปรากฏบนภาพนิ่งในตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่เป็นอยู่ในต้นแบบภาพนิ่ง เมื่อต้องการเพิ่มข้อความเดียวกันบนภาพนิ่งทุกภาพ ให้เพิ่มข้อความไปยังต้นแบบภาพนิ่งโดยการคลิกปุ่ม กล่องข้อความ บนแถบเครื่องมือ รูปวาด อย่าพิมพ์ในตัวยึดข้อความ หน้าตาของข้อความที่เราเพิ่มเข้าไปด้วยปุ่ม กล่องข้อความ จะไม่ถูกควบคุมโดยต้นแบบ








ต้นแบบชื่อเรื่อง
ถ้าเราต้องการให้ชื่อเรื่องภาพนิ่งของเรามีหน้าตาที่แตกต่างไปจากภาพนิ่งอื่นในงานนำเสนอของเรา เราสามารถเปลี่ยนแปลงต้นแบบชื่อเรื่องได้ ต้นแบบชื่อเรื่องจะมีผลเฉพาะกับภาพนิ่งที่ใช้เค้าโครงของชื่อเรื่องภาพนิ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เพื่อเน้นที่ภาพนิ่งเปิดตัวของแต่ละส่วนในงานนำเสนอ ให้จัดรูปแบบของต้นแบบชื่อเรื่องด้วยหน้าตาที่แตกต่างออกไปและใช้เค้าโครงของชื่อเรื่องภาพนิ่งบนภาพนิ่งเปิดตัวของแต่ละส่วนเหล่านี้ ให้สิ้นสุดการทำงานบนต้นแบบภาพนิ่งก่อนทำการเปลี่ยนแปลงต้นแบบชื่อเรื่อง เพราะว่ารูปแบบข้อความที่ถูกเปลี่ยนแปลงบนต้นแบบภาพนิ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงบนต้นแบบชื่อเรื่องด้วย
ออกแบบแม่แบบและต้นแบบ
ออกแบบแม่แบบแต่ละชิ้นจะมาพร้อมกับต้นแบบภาพนิ่ง องค์ประกอบบนต้นแบบภาพนิ่งจะควบคุมการออกแบบของแม่แบบ แม่แบบจำนวนมากมีต้นแบบชื่อเรื่องแยกต่างหากอีกด้วย เมื่อเรานำออกแบบแม่แบบไปใช้ในงานนำเสนอ PowerPoint จะปรับปรุงลักษณะข้อความและกราฟิกส์บนต้นแบบภาพนิ่งและเปลี่ยนแปลงโครงร่างสีไปยังต้นแบบภาพนิ่งในออกแบบแม่แบบใหม่โดยอัตโนมัติ วัตถุใดๆ ที่เราเพิ่มเข้าไปในต้นแบบภาพนิ่ง เช่น กล่องข้อความ หรือรูปภาพ จะไม่ถูกลบเมื่อเราใช้ออกแบบแม่แบบใหม่




การเปลี่ยนแปลงต้นแบบภาพนิ่ง
ถ้าออกแบบแม่แบบใหม่ ให้ปรับเปลี่ยนสีหรือขนาดของต้นแบบข้อความ หรือเปลี่ยนสีพื้นหลังของต้นแบบภาพนิ่ง ภาพนิ่งทั้งหมดจะสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถ้าเราเพิ่มกราฟิกไปยังต้นแบบภาพนิ่ง มันจะปรากฏอยู่บนภาพนิ่งทุกภาพ ในทำนองเดียวกันถ้าเราปรับเปลี่ยนเค้าโครงของต้นแบบชื่อเรื่อง ภาพนิ่งที่เราระบุให้เป็นชื่อเรื่องภาพนิ่งจะเปลี่ยนแปลงด้วย
สร้างภาพนิ่งที่แตกต่างจากต้นแบบภาพนิ่ง
ถ้าเราสร้างภาพนิ่งที่ไม่เหมือนใครขึ้นมาจากการปรับเปลี่ยนภาพนิ่งแต่ละภาพ ภาพนิ่งเหล่านี้จะยังคงรักษาความเป็นหนึ่งเดียวอยู่แม้แต่เมื่อเราเปลี่ยนแปลงต้นแบบหรือใช้ออกแบบแม่แบบใหม่แล้วก็ตาม ถ้าเราเกิดเปลี่ยนใจในภายหลัง เราสามารถที่จะคืนค่ารูปแบบของแม่แบบให้กับภาพนิ่งที่เราเปลี่ยนแปลง ได้เสมอ

ต้นแบบชื่อเรื่อง
ถ้าเราต้องการให้ชื่อเรื่องภาพนิ่งของเรามีหน้าตาที่แตกต่างไปจากภาพนิ่งอื่นในงานนำเสนอของเรา เราสามารถเปลี่ยนแปลงต้นแบบชื่อเรื่องได้ ต้นแบบชื่อเรื่องจะมีผลเฉพาะกับภาพนิ่งที่ใช้เค้าโครงของชื่อเรื่องภาพนิ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เพื่อเน้นที่ภาพนิ่งเปิดตัวของแต่ละส่วนในงานนำเสนอ ให้จัดรูปแบบของต้นแบบชื่อเรื่องด้วยหน้าตาที่แตกต่างออกไปและใช้เค้าโครงของชื่อเรื่องภาพนิ่งบนภาพนิ่งเปิดตัวของแต่ละส่วนเหล่านี้ ให้สิ้นสุดการทำงานบนต้นแบบภาพนิ่งก่อนทำการเปลี่ยนแปลงต้นแบบชื่อเรื่อง เพราะว่ารูปแบบข้อความที่ถูกเปลี่ยนแปลงบนต้นแบบภาพนิ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงบนต้นแบบชื่อเรื่องด้วย
ออกแบบแม่แบบและต้นแบบ
ออกแบบแม่แบบแต่ละชิ้นจะมาพร้อมกับต้นแบบภาพนิ่ง องค์ประกอบบนต้นแบบภาพนิ่งจะควบคุมการออกแบบของแม่แบบ แม่แบบจำนวนมากมีต้นแบบชื่อเรื่องแยกต่างหากอีกด้วย เมื่อเรานำออกแบบแม่แบบไปใช้ในงานนำเสนอ PowerPoint จะปรับปรุงลักษณะข้อความและกราฟิกส์บนต้นแบบภาพนิ่งและเปลี่ยนแปลงโครงร่างสีไปยังต้นแบบภาพนิ่งในออกแบบแม่แบบใหม่โดยอัตโนมัติ วัตถุใดๆ ที่เราเพิ่มเข้าไปในต้นแบบภาพนิ่ง เช่น กล่องข้อความ หรือรูปภาพ จะไม่ถูกลบเมื่อเราใช้ออกแบบแม่แบบใหม่

หน่วยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft power point

การสร้าง PowerPoint
วิธีการออกแบบและทำให้งานนำเสนอของเรามีรูปแบบเดียวกัน
PowerPoint นั้นออกแบบมาเพื่อให้การนำเสนอภาพนิ่งของเรามีรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกัน มีสี่วิธีที่ PowerPoint ช่วยให้เราควบคุมลักษณะของภาพนิ่ง คือ ออกแบบแม่แบบ ต้นแบบ โครงร่างสี และเค้าโครงภาพนิ่ง

ออกแบบแม่แบบ
การออกแบบแม่แบบประกอบด้วยโครงร่างสี ภาพนิ่ง และต้นแบบชื่อเรื่องกับการจัดรูปแบบที่กำหนดเอง (ดูในส่วนถัดไป) และลักษณะแบบอักษร การออกแบบทั้งหมดจะสร้างการมองโดยเฉพาะ เมื่อเราใช้การออกแบบแม่แบบไปยังงานนำเสนอ ต้นแบบภาพนิ่ง ต้นแบบชื่อเรื่อง และโครงร่างสีของแม่แบบตัวใหม่ของเรา ให้แทนที่ต้นแบบภาพนิ่ง ต้นแบบชื่อเรื่อง และโครงร่างสีของงานนำเสนอตัวเก่า หลังจากเราใช้การออกแบบแม่แบบ ภาพนิ่งแต่ละภาพที่เราเพิ่มจะมีการกำหนดลักษณะการมองที่เหมือนกันPowerPoint มาพร้อมกับการออกแบบแม่แบบหลากหลาย นอกจากนี้ เราสามารถสร้างแม่แบบของเราได้เอง ถ้าเราต้องการสร้างการมองแบบพิเศษสำหรับงานนำเสนอของเรา เราสามารถบันทึกงานนำเสนอนี้ให้เป็นแม่แบบได้

ต้นแบบ
ต้นแบบภาพนิ่งจะควบคุมรูปแบบและการจัดวางชื่อเรื่องและข้อความที่เราพิมพ์ในภาพนิ่ง ขณะที่ชื่อเรื่องต้นแบบจะควบคุมรูปแบบภาพนิ่งชื่อเรื่องและภาพนิ่งอื่นๆ ที่เรากำหนดให้เป็นภาพนิ่งชื่อเรื่อง เช่น ตัวเปิดตอนใหม่ ตัวหลักยังเป็นตัวควบคุมรายการพื้นหลัง เช่น กราฟิกที่เราต้องการให้ปรากฏบนทุกภาพนิ่งหรือภาพนิ่งชื่อเรื่อง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เราทำในภาพนิ่งหลักจะมีผลกับภาพนิ่งแต่ละภาพด้วย ถ้าเราต้องการให้ภาพนิ่งบางภาพแตกต่างจากตัวหลัก เราสามารถทำได้โดยแก้ไข ลงในภาพนิ่งนั้นๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนต้นแบบ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นแบบภาพนิ่ง

โครงร่างสี
โครงร่างสีเป็นกลุ่มของสีสมดุล 8 สีที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้เป็นสีหลักในการนำเสนอภาพนิ่ง เช่น สำหรับข้อความ พื้นหลัง ตัวเติม การเน้นและอื่นๆ แต่ละสีในโครงร่างสีจะถูกใช้สำหรับองค์ประกอบต่างๆ ของภาพนิ่งโดยอัตโนมัติ เราสามารถเลือกโครงร่างสีสำหรับภาพนิ่งแต่ละภาพ หรือทั้งงานนำเสนอก็ได้ เมื่อเราใช้แม่แบบการออกแบบในการนำเสนอ เราสามารถที่จะเลือกกลุ่มของโครงร่างสีที่ออกแบบไว้แล้วสำหรับแม่แบบการออกแบบนั้น ซึ่งจะเป็นการง่ายในการเปลี่ยนโครงร่างสีในภาพนิ่งแต่ละภาพหรือทั้งงานนำเสนอ และทำให้เราได้ทราบว่าโครงร่างสีใหม่นั้นกลมกลืนกับภาพนิ่งอื่นๆ ทั้งหมดที่อยู่ในงานนำเสนอ ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของโครงร่างสีเค้าโครงภาพนิ่ง
เมื่อเราสร้างภาพนิ่งใหม่ เราสามารถเลือกจากเค้าโครงภาพนิ่งที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า 24 แบบ ตัวอย่างเช่น มีเค้าโครงซึ่งมีตัวยึดสำหรับชื่อเรื่อง ข้อความ และแผนภูมิ และมีอีกเค้าโครงหนึ่งซึ่งมีตัวยึดสำหรับชื่อเรื่อง และภาพตัดปะ ตัวยึดของชื่อเรื่อง และข้อความจะมีรูปแบบตามต้นแบบภาพนิ่งสำหรับงานนำเสนอของเรา เราสามารถย้าย ปรับขนาด หรือจัดรูปแบบใหม่ให้กับตัวยึดเพื่อให้แตกต่างจากต้นแบบภาพนิ่ง เรายังสามารถเปลี่ยนเค้าโครงของภาพนิ่งหลังจากที่เราสร้าง เมื่อเราใช้เค้าโครงใหม่ ข้อความและวัตถุทั้งหมดยังคงอยู่บนภาพนิ่ง แต่เราอาจจำเป็นต้องจัดข้อความและวัตถุเหล่านั้นอีกครั้งเพื่อให้พอดีกับเค้าโครงใหม่

หน่วยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรมแกรม Microsoft power point

ส่วนประกอบของ Microsoft PowerPoint



หมายเลย 1
แถบชื่อเรื่อง (Tltle Bar) แถบแสดงชื่อโปรแกรมและชื่อแฟ้มข้อมูล
หมายเลย 2
แถบเมนู (Manu Bar) แถบรวมคำสั่งที่ใช้งานทั่งหมดในโปรแกรม
หมายเลย 3
แถบเครื่องมือ (Tool Bar) แถบไอคอนคำสั่งที่ใช้งานประจำหรือที่สำคัญใช้งานบ่อยๆ
หมายเลย 4
แถบแสดงสถานะ (Status Bar) แสดงรายละเอียดต่างๆ ในการทำงาน
หมายเลย 5
หน้าการทำงาน
หมายเลย 6
แถบเลื่อน
หมายเลย 7
ปุ่ม ยุบเก็บ ย่อ/ขยาย ปิด

มุมมองต่างๆ ของ PowerPoint



Microsoft PowerPoint มาพร้อมกับมุมมองที่แตกต่างกันเพื่อช่วยเราในขณะสร้างงานนำเสนอ มุมมองสองมุมมองหลักที่เราใช้ใน PowerPoint คือมุมมองปกติและมุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง เมื่อต้องการให้การสลับไปมาระหว่างมุมมองง่าย ให้เราคลิกปุ่มที่หน้าต่างด้านล่างซ้ายของ PowerPoint
มุมมองปกติ



มุมมองเค้าล่าง



มุมมองภาพนิ่ง



มุมมองเรียงลำดับภาพนิ่ง










































































หน่วยกิตที่3 นำเสนองานด้วยโปรมแกรม Microsoft power point

เราสามารถเริ่มต้น MS-PowerPoinได้ด้วยการคลิก Start ชี้ไปที่ Programs ชี้ไปที่ MS-Offic จากนั้นคลิก MS-PowerPoint




จะปรากฎหน้าต่างการทำงาน




ที่มีส่วนประกอบดังนี้
1. Menu bar เป็นที่เก็บคำสั่งทั่วไปในการใช้งาน
2. Title bar แสดงชื่อเอกสารและโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
3. Maximize, Minimize, Restore, Close Button ปุ่มขยาย ย่อ คืนขนาด และปิดหน้าต่าง
4. Tool bar แถบเครื่องมือ แถบเก็บคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ แสดงผลเป็นอคอนหรือรูปภาพ ทำให้เรียกใช้งานได้ง่าย
5. กล่องโต้ตอบ แสดงตัวเลือกในการเริ่มทำงานประกอบด้วย
5.1 ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ จะแสดงตัวช่วยในการสร้างงานทั้งหมด โดยผู้ใช้เลือกจากตัวเลือกที่มีอย
5.2 แม่แบบ แม่แบบประกอบด้วยโครงร่างสี ภาพนิ่ง และต้นแบบชื่อเรื่องกับการจัดรูปแบบที่กำหนดเอง และลักษณะแบบอักษร PowerPoint จะมาพร้อมกับแม่แบบ 2 ชนิดคือ แม่แบบออกแบบและแม่แบบเนื้อหา แม่แบบออกแบบมีรูปแบบและโครงร่างสีให้เลือกก่อนออกแบบบรรจุอยู่ซึ่งเราสามารถนำไปใช้กับงานนำเสนอใดๆ เพื่อทำให้มีหน้าตาจำเพาะได้ ส่วนแม่แบบเนื้อหาจะมีรูปแบบและโครงร่างสีที่คล้ายกับแม่แบบออกแบบ นอกจากนั้นยังมีภาพนิ่งที่มีข้อความคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่ระบุรวมไว้อีกด้วย เราสามารถเปลี่ยนแปลงแม่แบบเหล่านี้ให้เหมาะสมตามที่เราต้องการ หรือเราสามารถสร้างแม่แบบขึ้นมาใหม่โดยยึดตามงานนำเสนอที่เราสร้างไว้แล้วก็ได
5.3 งานนำเสนอเปล่า
5.4 เปิดงานนำเสนอที่มีอยู่แล้ว
6. Status bar แถบแสดงสถานะ


หน่วกิตที่2 สร้างสรรค์ ลวดลายด้วยโปรแกรม Microsoft Excel

เข้าสู่การใช้งานโปรแกรมMicrosoft Excel ์ การเรียกใช้งาน Excel
1. คลิกที่ปุ่ม
2. เลื่อนเมาส์ไปชี้คำสั่ง All program
3. เลื่อนเมาส์ไปที่ Microsoft office
4. เลื่อนเมาส์ไปที่Microsoft office Excel คลิก




ส่วนประกอบของ Microsoft Excel เมื่อเข้าสู่การทำงานของ Excel แล้วจะปรากฎหน้าต่างการทำงานซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังรูป




ส่วนประกอบของ Microsoft Excel
1. แถบชื่อ (Title Bar) คือส่วนที่แสดงชื่อ ของโปรแกรมนั้น ซึ่งคือ Microsoft Excel แสดงชื่อของแฟ้มหรือสมุดงานแทน
2. แถบคำสั่ง (Menu Bar) คือแถวที่รวมคำสั่งที่ใช้ในการทำงานได้แก่ แฟ้ม(File) แก้ไข(Edit) มุมมอง(View) แทรก(Insert) รูปแบบ(Format) เครื่องมือ(Tool) ข้อมูล(Data) หน้าต่าง(Window) ตัวช่วย(Help)
3. แถบเครื่องมือ(Tool Bar) เป็นแถบที่ใช้แสดงเครื่องมือสำหับสั่งให้ Microsoft Excel ทำงานในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 3.1 แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard Tool Bar)
3.1 แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard Tool Bar)



3.2 แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (Formating Tool Bar)



3.3 แถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing Tppl Bar)


4. แถบสูตร (Formular Bar) เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลและสูตรต่าง ๆ ในเซลล์ที่เรากำลังทำงานอยู่ ใช้ป้อนข้อมูลและแก้ไขข้อมูล
5. แถบชีตงาน (Sheet Bar) แสดงชื่อชีทงานที่ใช้งานอยู่
6. แถบสถานะ (Status Bar) เป็นส่วนที่แสดงสถานะการทำงานของ Excel และแป้นพิมพ์
7. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้เลื่อนเอกสารไปซ้าย - ขวา หรือ เลื่อนขึ้น - ลง
8. ตัวชี้เซลล์ (Active Cell) คือเซลลืที่กำลังถูกใช้งานในขณะนั้น เซลล์ที่เป็นแอกทีพเซลล์จะมีเส้นกรอบแบบสีดำล้อมรอบอยู่
9. สมุดงาน (Work Book)คือ ไฟล์ที่สร้างจากExcel ซึ่งประกอบ Work sheet หลายแผ่นมารวมกัน
10. แผ่นงาน(Work Sheet) หมายถึงพื้นที่ส่วนที่ใช้เป็ฯกระดาษคำนวณมีลักษณะเป็นตาราง เราสามารถป้อนข้อมูลและสูตรคำนวณต่าง ๆ ลงไปในเซลล์ นอกจากข้อมูลในเซล์แล้วยังสามารถวางวัตถุ เช่น รูปภาพหรือชาร์ท(Chart) ลงบนแผ่นงานได้อีกด้วย





วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนาวยกิตที่1 ภาพสวยด้วย โปรแกรม Paint

การออกจากโปรแกรม Paint คลิกที่เมนู File เลือกคำสั่ง Exit การใช้กล่องเครื่องมือ (Tool Box) ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดหรือระบายสีการเลือกเครื่องมือใด ๆ ให้ใช้เมาส์คลิกที่เครื่องมือนั้น
การใช้ดินสอ
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูป ดินสอ
2. แล้วนำมาวางที่พื้นที่วาดภาพ จะเห็นเป็นรูปดินสอ ใช้วาดอะไรก็ได้แล้วค่ะ
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่นักเรียนชอบ แล้วลองไปวาดใหม

การใช้แปรงทาสี
1. ให้ใช้เมาส์คลิกที่รูป แปรงทาสี
2. แล้วนำมาวางที่พื้นที่วาดภาพ จะเห็นเป็นรูปแปรงทาสี ใช้วาดรูปอะไรก็ได้แล้วค่ะ
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่นักเรียนชอบ แล้วลองไปวาดใหม่
4. ลองเปรียบเทียบดูว่า รูปที่วาดด้วยแปรงทาสี ปลายจะใหญ่กว่าวาดด้วยดินสอ
การใช้สีสเปรย์
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูป สีสเปรย์
2.แล้วนำมาวางที่พื้นที่วาดภาพจะเห็นเป็นรูปกระป๋องส ีสเปรย์แล้วลองใช้เมาส์กดแล้วลากและปล่อยจะพ่นเหมือน สเปรย์
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่ชอบ แล้วลองพ่นดูใหม่
4. ในกล่องเครื่องมือมีขนาดของหัวสเปรย์ ลองคลิกดู แล้วลองพ่นใหม่ซิคะ
การวาดเส้นตรง
1. ให้ใช้เมาส์คลิกที่รูป เส้นตรง
2.แล้วนำมาวางที่พื้นที่วาดภาพจะเห็นเป็นรูปกากบาทแล ้วนักเรียนลองใช้เมาส์กดและลากดูจะเป็นเส้นตามที่เรา ลาก
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่ชอบ
4. ในกล่องเครื่องมือมีขนาดของเส้น ลองคลิกดู แล้วไปลากเส้นดูใหม่

การวาดเส้นโค้ง
1. ให้ใช้เมาส์คลิกที่รูป เส้นโค้ง
2.แล้วนำมาวางที่พื้นที่วาดภาพจะเห็นเป็นรูปกากบาทแล ้วลองลากไปตามต้องการหลังจากนั้นใช้เมาส์คลิกตรงกลาง เส้นแล้วดึงให้มีส่วนโค้งเราก็จะได้เส้นโค้งตามต้องก าร
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่นักเรียนชอบ
4. ในกล่องเครื่องมือมีขนาดของเส้น ลองคลิกเปลี่ยนขนาดของเส้นตามที่เราต้องการ
การวาดเส้นอิสระ
1. ให้ใช้เมาส์คลิกที่รูป เส้นอิสระ
2.แล้วนำมาวางที่พื้นที่วาดภาพจะเห็นเป็นรูปกากบาทแล ้วลากไปตามที่เราต้องการเมื่อต้องการจะหยุดให้กดเมาส ์ดับเบิลคลิกถึงจะหยุดเส้นได้
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่ชอบ
4. ในกล่องเครื่องมือมีขนาดของเส้น ให้เลือกตามที่เราต้องการ

การวาดรูปหลายเหลี่ยม หรือ สี่เหลี่ยมมน
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูป เหลี่ยม หรือ
2.นำมาวางบนพื้นที่วาดรูปแล้วกดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไ ปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าถ้าต้องการให้เป็นรูปสี่เ หลี่ยมจัตุรัสต้องกดปุ่มShiftค้างไว้ด้วย
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่ชอบ
4. ในกล่องเครื่องมือมีขนาดของเส้น ให้เลือกตามที่เราต้องการ

การวาดรูปวงกลม / วงรี
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูป วงกลม
2.นำมาวางบนพื้นที่วาดรูปแล้วกดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไ ปจะเป็นรูปวงรีถ้าต้องการให้เป็นรูปวงกลมต้องกดปุ่มS hiftค้างไว้ด้วย
3. ให้นักเรียนใช้เมาส์คลิกที่กล่องสีด้านล่าง เลือกสีที่ชอบ
4. ในกล่องเครื่องมือมีขนาดของเส้น ให้เลือกตามที่เราต้องการ

การใช้ยางลบ
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูป ยางลบ
2. นำมาวางบนพื้นที่วาดรูป แล้วกดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไป จะเป็นรูปก้อนเหลี่ยมเล็กๆ ถ้าต้องการให้ยางลบก้อนใหญ่ให้กดปุ่มเครื่องหมายบวก เพื่อเพิ่มขนาดได้ถ้าต้องการลดขนาดของยางลบ ก็กดปุ่มเครื่องหมายลบ เพื่อลดขนาดได้
3. นำยางลบมาลบรูปภาพ โดยการกดเมาส์ถูไปมาบนรูปที่ต้องการลบ

การเลือกถังสี
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูป ถังสี
2. สามารถเลือกสีตามที่เราต้องการได้ แล้วนำไปคลิกบนรูปที่นักเรียนต้องการ

การเลือกสีหลักและสีพื้น
1.เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปยังสีที่เราต้องการ แล้วคลิกด้วยปุ่มซ้าย ของเมาส์เพื่อกำหนดให้เป็น สีหลัก
2. เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง ไปยังสีที่เราต้องการ แล้วคลิกด้วยปุ่มขวา ของเมาส์เพื่อกำหนดให้เป็น สีพื้น

การใช้เครื่องมือรูปตัดอิสระ รูปตัดแบบสี่เหลี่ยม สำหรับการย้ายหรือตัดส่วนประกอบของรูป มีวิธีดังนี้
1. ใช้เมาส์คลิกที่รูปเครื่องมือ หรือ
2. นำมาลากให้เป็นรูปไข่ปลาตัดให้ได้รอบรูป หรือส่วนของรูปที่ต้องการตัด
3. ใช้เมาส์จับชิ้นส่วนของรูป ลากไปตามที่ต้องการ แล้วปล่อย

การพิมพ์ข้อความ
1. เลือกเครื่องมือ จากกล่องเครื่องมือ
2. นำมาลากบนพื้นที่วาดภาพ จะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม
3. ให้ใช้เมาส์ ดึงจุดดำตรงกลางกรอบสี่เหลี่ยม แล้วลากปรับให้ยาวพอจะพิมพ์ข้อความได้
4. ให้คลิกที่เมนู View เลือกคำสั่ง Text Toolbar
5. ให้เลือกแบบตัวอักษร ที่ลงท้ายด้วย UPC จะเป็นภาษาไทย
6. เลือกขนาดตัวอักษรที่ต้องการแล้วพิมพ์ข้อความที่ต้อง การได้ ดังตัวอย่าง














การขยายภาพ
1. เลือกเครื่องมือ จากกล่องเครื่องมือ
2.เลือกจำนวนเท่าที่ต้องการจะขยายส่วนของภาพจากส่วนข องกล่องเครื่องมือภาพจะขยายตามจำนวนเท่านั้น
3.หากเลือกจำนวนเท่าเป็น1xจะปรากฏช่องสี่เหลี่ยมขึ้นให้เลื่อนช่องสี่เหลี่ยมที ่ได้ไปยังส่วนที่ต้องการขยายเพื่อดูรายละเอียดแล้วคลิก
การกลับสู่ขนาดเดิม กระทำได้โดย
1. เลือกเครื่องมือ จากกล่องเครื่องมืออีกครั้ง
2. คลิกที่รูปนั้น

การบันทึกจัดเก็บ
1. คลิกเมาส์ที่เมนู File เลือกคำสั่ง Save As จะพบภาพ
2. คลิกเปลี่ยนแฟ้มที่จะบันทึกว่าจะให้อยู่ในแฟ้มไหน เช่น ในแผ่นดิสก์ ก็เลือก 3.5Floppy(A)
3. ตอบ Save
4. ให้ออกจากโปรแกรม

การเรียกแฟ้มเดิมขึ้นมา
1.คลิกเมาส์ที่เมนู File เลือกคำสั่ง Open จะพบภาพ
2. เลือกชื่อแฟ้มที่ต้องการ ตอบ Open
3. เมื่อได้แฟ้มงานที่ต้องการแล้วนำมาแก้ไขเสร็จแล้ว ให้จัดเก็บอีกครั้งโดยคลิกที่เมนูFileเลือกคำสั่ง Save และปิดแฟ้มออกจากโปรแกรม

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หน่วยกิตที่1 ภาพสวยด้วยโปรแกรม Paint

การใช้โปรแกรม Paint
คอมพิวเตอร์นอกจากความสามารถในการพิมพ์เอกสารยังสามา รถสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ ปัจจุบันมีโปรแกรมให้เลือกใช้งานมากมายเช่น Photoshop CorelDraw โปรแกรมที่ทำงานสร้างภาพที่มีมาให้พร้อมกับโปรแกรม Windows คือโปรแกรม Paint Brush สามารถเรียกใช้ได้โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start เลือก Programs เลือก Accessories แล้วคลิกเมาส์ที่ Paint Brush เพื่อเรียกใช้งานโปรแกรม Paint Brush สามารถใช้ตกแต่งรูปภาพอย่างง่าย ๆ และใช้วาดรูป มีหลักการทำงานคือ คลิกเมาส์ เลือกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ กำหนดรูปแบบการใช้คำสั่งแล้วนำมาใช้กับรูปภาพที่ใช้ง าน
ส่วนประกอบของโปรแกรม Paint Brush ประกอบด้วย
1. ไตเติลบาร์ (Title bar) แสดงชื่อโปรแกรม
2. เมนูบาร์ ( Menu bar) แสดงเมนูคำสั่งของโปรแกรม
3. ทูลบาร์ (Toolbar) เป็นแถบเครื่องมือที่เป็นปุ่มคำสั่งสำหรับแต่งภาพ
4. พื้นที่แสดงภาพ เป็นพื้นที่แสดงภาพที่สามารถใช้เครื่องมือทำงานได้
5. แถบแสดงรูปภาพของเครื่องมือที่เลือกใช้
6. ช่องแสดงสีหลัก (Foreground) และสีพื้น (Background)
7. ช่องแสดงจานสีที่มีสำหรับเลือกใช้สีในการทำงาน
8. ปุ่มโคลส (Close) อยู่ที่ขอบขวาสุดของไตเติลบาร์ เป็นรูปตัวอักษร x เมื่อคลิกเมาส์ จะเป็นการปิดโปรแกรม
9. ปุ่มมินิไมซ์ (Minimize button ) ใช้ลดขนาดหน้าต่างโปรแกรม
10. ปุ่มแมกซิไมซ์ (Maximize button) ใช้ขยายหน้าต่างการทำงาน










การใช้แถบเครื่องมือ (Toolbar) ใช้งานโดยการคลิกที่ปุ่มเครื่องมือที่ต้องการใช้งาน จากนั้นคลิก เมาส์ เลือกลักษณะของเครื่องมือที่มีอยู่ต่าง ๆ กัน ตามความเหมาะสมกับงานแล้วใช้งานโดยอาศัยการทำงานจาก เมาส์ เพื่อเลือกภาพและแสดงตำแหน่งของเป้าหมายที่อยู่ในพื้ นที่แสดงภาพ การวาดภาพด้วยโปรแกรม Paintการวาดภาพด้วยโปรแกรม Paint เป็นการฝึกการใช้เมาส์อย่างหนึ่ง สำหรับผู้เรียนที่ยังมือใหม่ จะได้มีโอกาสได้ฝึกการใช้เครื่องมือ ปุ่ม ต่าง ๆ และโครงสร้างของ Windows ให้ชำนาญขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างจินตนาการให้ผู้เรียนสร้างส รรค์ทางศิลปะ เป็นการคลายความเครียดอีกวิธีหนึ่งด้วย ขั้นตอนการใช้โปรแกรม Paintคลิกเมาส์ที่ปุ่ม เริ่ม Start เลือก Programs เลือก Accessories เลือก Paint จะเข้าสู่โปรแกรม Paint ตามตัวอย่างดังรูป